ผู้เขียนผู้เขียน: Jeffrey Cammackอัปเดต: กรกฎาคม 22, 2020

อัปเดตล่าสุดเมื่อ กรกฎาคม 22, 2020

Jeffrey Cammack

ผู้เขียน: Jeffrey Cammack

การวิเคราะห์หลายกรอบเวลาเป็นวิธีวิเคราะห์แบบบนลงล่างเพื่อศึกษาพฤติกรรมของราคานักเทรดมักจะเริ่มโดยการมองกรอบเวลาที่ยาวกว่าและขยับมายังกรอบเวลาที่สั้นกว่าอย่าง กราฟระหว่างวัน

กลยุทธ์หลายกรอบเวลาเป็นระบบการเทรดเชิงตรรกะที่นักเทรดมืออาชีพใช้ เป็นกลยุทธ์การเทรดทางเทคนิคที่ให้ความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ตามที่คาดการณ์ไว้ได้สูง ด้วยรูปแบบการเทรดนี้เป็นรูปแบบทางเทคนิคล้วนๆ นักเทรดจึงไม่ต้องพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานแต่อย่างใด

ในการวิเคราะห์หลายกรอบเวลา นักเทรดศึกษาความแตกต่างของช่วงระยะเวลาและพิจารณาว่า มีผลกระทบอย่างไรกับราคา ยิ่งกรอบเวลายาวเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้รับผลกระทบในเรื่องราคา ด้วย “สมาร์ทมันนี่” ทำการเทรดในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่า

กลยุทธ์หลายกรอบเวลาจะให้ตำแหน่งที่ถูกต้องกับนักเทรด ตัวกลยุทธ์จะทำให้นักเทรดทราบถึงทิศทางของแนวโน้มของตลาด ในขณะที่ระบุจุดเข้าเทรดที่เหมาะสมในกรอบเวลาที่สั้นกว่า

เรายังต้องการกรอบเวลาต่างๆ ไปในทิศทางเดียวกัน หากกรอบเวลาที่ยาวกว่าเป็นขาขึ้น เราต้องตรวจสอบว่า กรอบเวลาที่สั้นกว่าก็เป็นขาขึ้นเช่นกัน และเช่นเดียวกัน หากกรอบเวลาที่ยาวกว่าเป็นขาลง กรอบเวลาที่สั้นกว่าก็เป็นขาลงเช่นกัน ซึ่งจะทำให้การเทรดมีความน่าจะเป็นสูงและถูกต้องมากขึ้น

แนวคิดทั่วไปเบื้องหลังการวิเคราะห์หลายกรอบเวลาประกอบด้วย

  • กำหนดความเอนเอียงของทิศทางตลาดใช้กรอบเวลาที่ยาวกว่าเพื่อค้นหาแนวโน้มหลัก หากไม่พบแนวโน้ม นักเทรดควรหยุดเทรดจนกว่าจะสามารถกำหนดแนวโน้มที่ชัดเจนได้
  • เรามองหาการขึ้นแล้วลงต่อ (Pullback) และการปรับตัวขึ้นภายในแนวโน้มหลัก
  • เรารอการทะลุแนวในทิศทางของแนวโน้มสำหรับระดับที่เราจะเข้าทำการเทรด

การเลือกกรอบเวลา

คุณเลือกกรอบเวลาที่ใช้อย่างไร เราใช้สามกรอบเวลาเพื่อดูแนวโน้ม การขึ้นเพื่อลงต่อและการทะลุแนว อย่างแรก คุณต้องเลือกกรอบเวลาที่คุณรู้สึกสบายใจในการเทรดที่สุด ด้วยนักเทรดแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนชอบเทรดระยะสั้นมากแต่บางคนชอบเทรดระยะยาว

กฎพื้นฐานคือ คุณควรใช้กรอบเวลาที่คุณชอบเป็นกรอบเวลากลาง ในการหากรอบเวลาระยะยาว คุณจะต้องคูณกรอบเวลาของคุณด้วย 4 5 หรือ 6

ในการหากรอบเวลาระยะสั้น คุณต้องหารกรอบเวลากลางของคุณด้วย 4 5 หรือ 6

กฎเหล่านี้เป็นแค่ข้อเสนอแนะไม่ใช่กฎตายตัว หากกรอบเวลาที่คุณชอบคือกราฟระหว่างวัน เช่นกรอบราย 5 นาทีหรือ 15 นาที ขอแนะนำให้คุณใช้กราฟรายวันเป็นกรอบเวลาระยะยาวของคุณ เพราะกราฟรายวันถือเป็นกราฟที่สมาร์ทมันนี่ทำการเทรด

ตัวอย่างการตั้งค่า

  • หากกรอบเวลาที่คุณชอบเทรดคือกราฟราย 1 ชั่วโมง นี่จะเป็นกรอบเวลากลางของคุณ
  • หมายความว่า คุณจะใช้กราฟรายวันเป็นกรอบเวลาระยะยาว
  • กราฟราย 15 นาทีเป็นกรอบเวลาระยะสั้น

ตัวอย่างการวิเคราะห์หลายกรอบเวลา

ในการทำการวิเคราะห์หลายกรอบเวลา ให้เริ่มจากกรอบเวลาระยะยาวก่อนเสมอ กรอบเวลานี้จะแสดงให้เห็นมีแนวโน้มหรือไม่และจะช่วยให้คุณกำหนดความเอนเอียงของทิศทางตลาด

ในภาพ 1 เรามีกราฟรายวันของ GBP/USD โดยการใช้ Moving averages 9 และ 18 เราสามารถระบุได้ว่า เรากำลังเข้าสู่แนวโน้มขาลงที่รุนแรง หมายความว่า รูปแบบการเทรดมีโอกาสเป็นการขายสูง

ภาพ 1: กราฟรายวัน GBP/USD

บนกรอบเวลากลาง เราประเมินแรงส่งของราคาของตลาดและสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของการซื้อมากเกินไป (Oversold) /การขายมากเกินไป (Overbought) ที่อาจจะเกิดขึ้นในทิศทางแนวโน้มที่พบในกราฟกรอบเวลาที่ยาวกว่า หากแนวโน้มโดยรวมเป็นขาขึ้น จับตาดูความเปลี่ยนแปลงของตลาดจากระดับ Oversold แต่หากแนวโน้มโดยรวมเป็นขาลง จับตาดูความเปลี่ยนแปลงของตลาดจากระดับ Overbought

ภาพ 2: กราฟราย 1 ชั่วโมงของ GBP/USD

กรอบเวลาระยะสั้นจะจับเวลาตลาดและค้นหาช่วงเข้าเทรดที่ดีที่สุดในทิศทางของแนวโน้ม เราใช้กรอบเวลาระยะสั้นเพื่อระบุช่วงเข้าและช่วงออก เมื่อเราสามารถระบุระดับ Overbought หรือ Oversold ในกรอบเวลากลางได้แล้ว เราจะสลับไปที่กรอบเวลาที่สั้นกว่าเพื่อเข้าเทรด ใช้ระดับทางเทคนิคใดก็ได้เป็นตัวเริ่ม เช่นขายเมื่อทะลุแนวรับหากเราอยู่ในแนวโน้มขาลงและซื้อเมื่อทะลุแนวต้านหากเราอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น

ภาพ 3: กราฟราย 15 นาทีของ GBP/USD

ทันทุกความเคลื่อนไหว

แบบฟอร์มนี้เป็นแบบยืนยันสองครั้ง คุณจำเป็นต้องยืนยันที่อยู่อีเมลของคุณก่อนที่เราจะเพิ่มคุณในฐานข้อมูลของเรา

ปิด